จำนวนการดูหน้าเว็บรวม
วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
ขั้นตอนวิธีการทางประวัติศาสตร์
ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย
ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมาย เป็นขั้นตอนแรก นักประวัติศาสตร์ต้องมีจุดประสงค์ชัดเจนว่าจะศึกษาอะไร อดีตส่วนไหน สมัยอะไร และเพราะเหตุใด เป็นการตั้งคำถามที่ต้องการศึกษา นักประวัติศาสตร์ต้องอาศัยการอ่าน การสังเกต และควรต้องมีความรู้กว้างๆ ทางประวัติศาสตร์ในเรื่องนั้นๆมาก่อนบ้าง ซึ่งคำถามหลักที่นักประวัติศาสตร์ควรคำนึงอยู่ตลอดเวลาก็คือทำไมและเกิดขึ้นอย่างไร
ขั้นตอนที่ 2 การรวบรวมข้อมูล หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ให้ข้อมูล มีทั้งหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และหลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร มีทั้งที่เป็นหลักฐานชั้นต้น(ปฐมภูมิ) และหลักฐานชั้นรอง(ทุติยภูมิ) ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน
ขั้นตอนที่ 3 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน วิพากษ์วิธีทางประวัติศาสตร์ คือ การตรวจสอบหลักฐานและข้อมูลในหลักฐานเหล่านั้นว่า มีความน่าเชื่อถือหรือไม่ ประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานและวิพากษ์ข้อมูลโดยขั้นตอนทั้งสองจะกระทำควบคู่กันไป เนื่องจากการตรวจสอบหลักฐานต้องพิจารณาจากเนื้อหา หรือข้อมูลภายในหลักฐานนั้น และในการวิพากษ์ข้อมูลก็ต้องอาศัยรูปลักษณะของหลักฐานภายนอกประกอบด้วยการวิพากษ์หลักฐานหรือวิพากษ์ภายนอก
ขั้นตอนที่ 4 การตีความหลักฐานการตีความหลักฐาน หมายถึง การพิจารณาข้อมูลในหลักฐานว่าผู้สร้างหลักฐานมีเจตนาที่แท้จริงอย่างไร โดยดูจากลีลาการเขียนของผู้บันทึกและรูปร่างลักษณะโดยทั่วไปของประดิษฐกรรมต่างๆเพื่อให้ได้ความหมายที่แท้จริงซึ่งอาจแอบแฟงโดยเจตนาหรือไม่ก็ตาม
ขั้นตอนที่ 5 การสังเคราะห์และการวิเคราะห์ข้อมูล จัดเป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งผู้ศึกษาค้นคว้าจะต้องเรียบเรียงเรื่อง หรือนำเสนอข้อมูลในลักษณะที่เป็นการตอบหรืออธิบายความอยากรู้ ข้อสงสัยตลอดจนความรู้ใหม่ ความคิดใหม่ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้านั้นลักษณะ ประเภท และความสำคัญของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ความหมายและความสำคัญของประวัติศาสตร์
ประวัติศาสตร์ เป็นวิชาที่ว่าด้วยพฤติกรรมหรือเรื่องราวของมนุษย์ที่เกิดขึ้นในอดีต ร่องรอยที่คนในอดีตสร้างเอาไว้ เป้าหมายของการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ คือ การเข้าใจสังคมในอดีตให้ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด เพื่อนำมาเสริมสร้างความเข้าใจในสังคมปัจจุบัน
"ประวัติศาสตร์" ไว้ เช่น
อาร์. จี. คอลลิงวูด (R. G. Collingwood) อธิบายว่าประวัติศาสตร์คือวิธีการวิจัยหรือการไต่สวน ... โดยมีจุดมุ่งหมายจะศึกษาเกี่ยวกับ ... พฤติการณ์ของมนุษยชาติที่เกิดขึ้นในอดีต (history is a kind of research or inquiry ... action of human beings that have been done in the past.)
อี. เอช. คาร์ (E. H. Carr) อธิบายว่าประวัติศาสตร์นั้นก็คือกระบวนการอันต่อเนื่องของการปฏิสัมพันธ์ระหว่างนักประวัติศาสตร์กับข้อมูลของเขา ประวัติศาสตร์คือบทสนทนาอันไม่มีที่สิ้นสุดระหว่างปัจจุบันกับอดีต (What is history?, is that it is a continuous process of interaction between the present and the past.)
ส่วน ศ.ดร.ธงชัย วินิจจะกูล นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในสหรัฐอเมริกาอธิบายถึงคำว่าประวัติศาสตร์และเตือนผู้ศึกษา/อ่านประวัติศาสตร์ไว้น่าสนใจ ดังนี้ "การเข้าใจอดีตนั้นคือประวัติศาสตร์ ... เราต้องเข้าใจว่าความรู้เกี่ยวกับอดีตนั้นสร้างใหม่ได้เรื่อยๆ เพราะทัศนะมุมมองของสมัยที่เขียนประวัติศาสตร์นั้นเปลี่ยนอยู่เสมอ ..."
วิธีการทางประวัติศาสตร์
คือกระบวนการศึกษาประวัติศาสตร์เพื่อให้ได้ความรู้และคำตอบที่เชื่อว่าสะท้อนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอดีตได้ถูกต้องมากที่สุด ซึ่งไม่มีใครสามารถตอบได้ว่าข้อเท็จจริงที่ถูกต้องคืออะไร ดังนั้น จึงต้องมีกระบวนการศึกษา และการใช้เหตุผลในการตรวจสอบความถูกต้องของหลักฐานและนำไปใช้อย่างถูกต้อง ทำให้การศึกษาประวัติศาสตร์เป็นศาสตร์ที่สะท้อนข้อเท็จจริงที่แตกต่างจากนิทาน นิยาย หรือเรื่องบอกเล่าที่เลื่อนลอย
การศึกษาประวัติศาสตร์เริ่มจากการตั้งคำถามพื้นฐานหลัก 5 คำถาม คือ "เกิดเหตุการณ์อะไรขึ้นในอดีต" (What), "เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นเมื่อไหร่" (When), "เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นที่ไหน" (Where), "ทำไมจึงเกิดเหตุการณ์นั้นขึ้น" (Why), และ "เหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร" (How) วิธิการทางประวัติศาสตร์ประกอบด้วยขั้นตอนต่าง ๆ ได้แก่
นอกจากนี้ รอบิน จี. คอลลิงวูด (R. G. Collingwood) นักปรัชญาประวัติศาสตร์คนสำคัญชาวอังกฤษในคริสต์ศตวรรษที่ 20 ผู้เป็นเจ้าของผลงานเรื่อง Idea of History ให้ความเห็นเกี่ยวกับวิธิการศึกษาประวัติศาสตร์ ดังนี้
วิธีการศึกษาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ต่างจากการศึกษาหลักฐานทางวิทยาศาสตร์
นักประวัติศาสตร์ต้องระมัดระวังในการยืนยันความถูกต้องของหลักฐาน
การนำเสนอในลักษณะ "ตัด-แปะประวัติศาสตร์" ไม่ถูกต้องและเป็นวิธีการที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ ควรนำเสนอโดยการประมวลความคิดให้เป็นข้อสรุป
วิธีการทางประวัติศาสตร์ที่มีลักษณะเป็นแบบวิทยาศาสตร์คือการตั้งคำถาม
วิธีการทางประวัติศาสตร์
1. วิธีการทางประวัติศาสตร์ หมายถึง วิธีการที่ผู้ต้องการสืบค้น เรื่องราวในอดีต ใช้ในการศึกษา ค้นคว้า และเรียบเรียงเรื่องราวทาง ประวัติศาสตร์
2. วิธีการทางประวัติศาสตร์มีความ สำาคัญ คือ สามารถใช้ในการสืบค้นเรื่อง ราวต่าง ๆ ที่สนใจได้ เช่น การหาความ รู้เกี่ยวกับ โรงเรียน วัด ชุมชน จังหวัด หรือภูมิภาคของตน ซึ่งเป็นเรื่องราว ใกล้ ตัวและเราสามารถหาหลักฐาน ได้จาก แหล่งข้อมูลที่มี อยู่ในพื้นที่ เช่น วัด พิพิธภัณฑ์ สถานที่สำาคัญในท้องถิ่น เป็นต้น
3. การใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ ถ้านักเรียนสนใจอยากทราบว่า จังหวัดของเรามีประวัติความเป็นมา อย่างไร มีเรื่องราวใด ที่น่าสนใจน่ารู้บ้าง นักเรียนสามารถใช้วิธีการทาง ประวัติศาสตร์ศึกษาค้นคว้าได้ตามขั้นตอน
4. กำาหนดเรื่องที่จะศึกษา เป็นขั้นตอนแรกของวิธีการ ศึกษาหาความรู้ โดยตั้งประเด็นคำาถาม เกี่ยวกับเรื่องที่จะศึกษาที่แน่นอน ต้อง ถามตัวเองในประเด็นที่ต้องการรู้ ได้แก่ ใคร ทำาอะไร ที่ไหน เมื่อไร ทำาไม อย่างไร และต้องเป็นคำาถามที่ตอบได้และ นำาไปสู่การค้นคว้าความรู้ที่ลึกซึ้ง หรือ
5. ตัวอย่าง ประเด็นการศึกษาเกี่ยวกับภูมิภาคอาจ เป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัว และขยายขอบเขต การ ศึกษาออกไปเป็นระดับอำาเภอ ระดับจังหวัด และระดับภูมิภาค เช่น ประวัติวัดสำาคัญในชุมชน / อำาเภอ / จังหวัด / ภูมิภาค สถานที่สำาคัญในท้องถิ่น / จังหวัด / ภูมิภาค
6. ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล เมื่อมีประเด็นที่จะศึกษาแล้ว ขั้นต่อมาคือ การค้นคว้าและรวบรวมหลักฐานข้อมูลทุก ประเภทที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ต้องการศึกษา ทั้งที่เป็นหลักฐานชั้นต้นและหลักฐานชั้นรอง หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร และหลักฐาน ที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งหลักฐาน ชั้นต้นจะมีความสำาคัญและน่าเชื่อถือกว่าหลัก ฐานชั้นรอง แต่หลักฐานชั้นรองจะช่วย อธิบายเรื่องราวให้เข้าใจง่ายกว่าหลักฐานชั้น ต้น โบราณสถานสบ โบราณสถาน โบราณวัตถุ
7. หลักฐานชั้นต้น ลักษณะ เป็นหลักฐานและข้อมูลที่เป็นของ ร่วมสมัยหรือเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์โดยตรง ตัวอย่างได้แก่ ข้อมูลจากการสอบถามผู้ที่ อยู่ในเหตุการณ์ บันทึกของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ ภาพถ่าย วีดิโอเทป สิ่งของเครื่องใช้ สิ่ง ก่อสร้าง เป็นต้น
8. หลักฐานชั้นรอง ลักษณะ เป็นหลักฐานและข้อมูลที่เขียน หรือรวบรวมไว้ภายหลังเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น โดยใช้ข้อมูลจากหลักฐานชั้นต้น ตัวอย่างได้แก่ บทความทางวิชาการ หนังสือต่าง ๆ
9. หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร ลักษณะ เป็นหลักฐานข้อมูลที่เป็นตัวหนังสือ ตัวอย่างได้แก่ จารึก พงศาวดาร จดหมายเหตุ หนังสือพิมพ์ จดหมาย บันทึก เอกสารทางราชการ เป็นต้น
10. หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ลักษณะ เป็นหลักฐานข้อมูลที่ไม่เป็นตัวหนังสือ ตัวอย่างได้แก่ เครื่องมือเครื่องใช้ของคนใน สมัยต่าง ๆ วัด เจดีย์ อนุสาวรีย์ เครื่องประดับ อาคารบ้านเรือนเครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น พระพุทธรูปหินทรายที่จัด เก็บในพิพิธภัณฑ์เวียงพยาว เครื่องถ้วยชาม ภายในหอ วัฒนธรรมนิทัศน์พะเยา
11. ตรวจสอบหลักฐาน ขั้นตอนนี้คือ การตรวจสอบข้อมูลหลักฐาน ที่เรารวบรวมมาว่ามีความถูกต้อง น่าเชื่อถือ มากน้อยเพียงใด วิธีการตรวจสอบหลักฐาน ได้แก่ เปรียบ เทียบจากข้อมูลหลาย ๆ ฉบับว่าเหมือนหรือ ต่างกันอย่างไร พิจารณาจากหลักฐานที่มีอยู่ หรือว่าหลักฐานดังกล่าวผ่านการตรวจสอบ ความถูกต้อง จากผู้เชี่ยวชาญมาแล้ว เรียกวิธี การนี้ว่า การวิพากษ์หลักฐาน
12. การวิพากษ์หลักฐาน แบ่งเป็น 2 ลักษณะ การวิพากษ์ภายนอก คือตรวจสอบและ พิจารณาคุณค่าหลักฐานว่าเป็นของจริงหรือ ปลอม ชำารุดหรือไม่ อายุของหลักฐาน คัด ลอกมาถูกหรือไม่ ผู้สร้างหลักฐานมีความเป็น มาอย่างไร การวิพากษ์ภายใน คือการตรวจสอบความ ถูกต้อง ความน่าเชื่อถือของข้อมูลว่ามีคุณค่า ทางประวัติศาสตร์เพียงใด สอดคล้องกับข้อมูล ในหลักฐานอื่นหรือไม่
13. การตีความหลักฐาน เมื่อรวบรวมและตรวจสอบความถูกต้อง ความน่าเชื่อถือแล้ว พิจารณาศึกษาความหมาย ในหลักฐานว่าผู้สร้างหลักฐานมีเจตนาแอบแฝง หรือไม่ อย่างไร ซึ่งจะต้องเข้าใจความหมาย ทัศนคติ ความเชื่อ สภาพแวดล้อม ของผู้เขียน และสังคมในยุคสมัยนั้นประกอบด้วย ซึ่งต้อง อาศัยความรู้จากหลายสาขาวิชา และที่สำาคัญ ต้องมีใจเป็นกลาง ไม่มีอคติ เพื่อให้ได้ข้อเท็จ จริงทางประวัติศาสตร์ที่ใกล้เคียงกับความเป็น จริงมากที่สุด
14. การนำาเสนอข้อมูล เป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทาง ประวัติศาสตร์ โดยผู้ศึกษาต้องนำข้อมูลที่ผ่าน การตรวจสอบ และเลือกสรรแล้ว มาเรียบเรียง เพื่อตอบคำาถามหรืออธิบายข้อสงสัยตามประเด็น ที่ต้องการศึกษาโดยใช้หลักฐานข้อมูลต่างๆ มา อ้างอิงอย่างเป็นเหตุเป็นผล การนำาเสนอสู่สาธารณะผ่านการเขียนบทความ การประชุม สัมมนา อภิปราย รายงาน บรรยาย ซึ่งการนำาเสนอข้อมูลเช่นนี้นำาไปสู้การสร้างแนว ความคิดใหม่ หรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ทาง ประวัติศาสตร์
|
วันอาทิตย์ที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศ การจัดตั้งองค์การระหว่างประเทศอาจจำแนกออกเป็นสองระดับหลัก คือองค์การระหว่างประเทศระดับโลก และระดับภูมิภาค ซึ่งทั้งสองระดับล้วนเป็นองค์การเพื่อประสานประโยชนืร่วมกันระหว่างประเทศปัจจุบัน ดังนี้
1.องค์การสหประชาชาติ(The United Nations:UN)สถาปนาอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2488 หลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงนิวยอร์กประเทศสหรัฐอเมริกา มีประเทศเอกราชทุกภูมิภาคเป็นสมาชิกไม่ต่ำกว่า 190 ประเทศในปัจจุบัน
1.1 เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ
1.2 เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ฉันท์มิตรระหว่างประชาชาติ โดยยึดการเคารพต่อหลักการแห่งสิทธิอันเท่าเทียมกัน
1.3 เพื่อให้บรรลุถึงความร่วมมือระหว่างประเทศ ในอันที่จะแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศทางด้าน เศษฐกิจ สังคม และมนุษยธรรมและการส่งเสริมสนับสนุนการเคารพต่อสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นมูลฐานสำหรับทุกคน โดยไม่เลือกปฎิบัติในเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือภาษา
1.4 เพื่อเป็นศูนย์กลางประสานงานของประชาชาติทั้งหลายให้กลมกลืนกัน ในอันที่จะบรรลุจุดหมานปลายทางร่วมกัน
เช่น การรักษาสันติภาพ ส่งเสริมประชาธิปไตย ส่งเสริมด้านมนุษย์ชน พัฒนาความสัมพันธ์ทางการค้าระดับโลก ให้ความคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น
2.สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(Association of Southeast Asian Nation: ASEAN)หรืออาเซียน
ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2510 โดยมีสมาชิกเริ่มแรก 5 ประเทศ คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ในปัจุบันได้สมาชิกเพิ่มได้แก่ บรูไน เวียดนาม ลาว และกัมพูชา
โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อเร่งรัดความเจริญเติบโตทางเศษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคม วัฒนธรรมของภูมิภาค ส่งเสริมสันติภาพ และเสถียรภาพของภูมิภาคตามหลักของสหประชาชาติ ส่งเสริม ร่วมมือและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องผลประโยชน์ทาเศษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ การบริหารอย่างจริงจัง
3.เขตการค้าเสรีอาเซียน(Asean free trade area: AFTA)
เขตการค้าเสรีอาเซียน หรืออาฟตา เป็นการร่วมมือทางเศษฐกิจที่ทำให้การค้าขายในกลุ่มอาเซียนขยายตัว เป็นความคิดริเริ่มที่มาจากอดีตนายกรัฐมนตรีไทย คือ นายอานันท์ ปันยาชุน ที่เสนอต่อที่ประชุมอาเซียน ณ ประเทศสิงคโปร์
โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้การค้าภายในอาเซียนเป็นไปโดยเร็ว อัตรภาษีต่ำที่สุด และเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติสู่ภูมิภาคอาเซียน ตลอดจนเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การค้าโลกที่เป็นระบบเสรียิ่งขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อเศษฐกิจของไทยอย่างจริงจัง ระบบการค้าเสรี เป็นลักษณะทวิภาคี ระหว่างประเทศไทยกับประเทศในเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์เป็นต้น
4.ความร่วมมือทางเศษฐกิจเอเชียแปซิฟิก หรือเอเปก(Asia-pacific economic cooperation:APEC)
ก่อตั้งใน พ.ศ. 2532 ตามข้อเสนอของนายบ็อบฮอร์ก อดีตนายกรัฐมนตรีประเทศออสเตรเลีย โดยกลุ่มเอเปกเป็นกลุ่มเศษฐกิจที่มีประชากรรวมกันมากที่สุดกว่า 2,000 ล้านคน ครอลคลุม สามทวีป คือ เอเชีย อเมริกา และออสเตรเลีย มีสำนักงานตั้งอยู่ที่ประเทศ
สิงคโปร มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศษฐกิจของภูมิภาคเอเชียและของโลก โดยต้องการพัฒนาส่งเสริมระบบการค้าพหุภาคีที่อยู่บนรากฐานของการเปิดการค้าเสรี การลงทุน และหาทางลดอุปสรรคทางการค้า โดยยึดหลักผลประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งไทยเคยเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมในปี พ.ศ. 2546
1.องค์การสหประชาชาติ(The United Nations:UN)สถาปนาอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2488 หลังสงครามโลกครั้งที่สองยุติลง มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงนิวยอร์กประเทศสหรัฐอเมริกา มีประเทศเอกราชทุกภูมิภาคเป็นสมาชิกไม่ต่ำกว่า 190 ประเทศในปัจจุบัน
1.1 เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ
1.2 เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ฉันท์มิตรระหว่างประชาชาติ โดยยึดการเคารพต่อหลักการแห่งสิทธิอันเท่าเทียมกัน
1.3 เพื่อให้บรรลุถึงความร่วมมือระหว่างประเทศ ในอันที่จะแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศทางด้าน เศษฐกิจ สังคม และมนุษยธรรมและการส่งเสริมสนับสนุนการเคารพต่อสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นมูลฐานสำหรับทุกคน โดยไม่เลือกปฎิบัติในเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา เพศ หรือภาษา
1.4 เพื่อเป็นศูนย์กลางประสานงานของประชาชาติทั้งหลายให้กลมกลืนกัน ในอันที่จะบรรลุจุดหมานปลายทางร่วมกัน
เช่น การรักษาสันติภาพ ส่งเสริมประชาธิปไตย ส่งเสริมด้านมนุษย์ชน พัฒนาความสัมพันธ์ทางการค้าระดับโลก ให้ความคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น
2.สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้(Association of Southeast Asian Nation: ASEAN)หรืออาเซียน
ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2510 โดยมีสมาชิกเริ่มแรก 5 ประเทศ คือ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และสิงคโปร์ ในปัจุบันได้สมาชิกเพิ่มได้แก่ บรูไน เวียดนาม ลาว และกัมพูชา
โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อเร่งรัดความเจริญเติบโตทางเศษฐกิจ ความก้าวหน้าทางสังคม วัฒนธรรมของภูมิภาค ส่งเสริมสันติภาพ และเสถียรภาพของภูมิภาคตามหลักของสหประชาชาติ ส่งเสริม ร่วมมือและช่วยเหลือซึ่งกันและกันในเรื่องผลประโยชน์ทาเศษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม วิชาการ การบริหารอย่างจริงจัง
3.เขตการค้าเสรีอาเซียน(Asean free trade area: AFTA)
เขตการค้าเสรีอาเซียน หรืออาฟตา เป็นการร่วมมือทางเศษฐกิจที่ทำให้การค้าขายในกลุ่มอาเซียนขยายตัว เป็นความคิดริเริ่มที่มาจากอดีตนายกรัฐมนตรีไทย คือ นายอานันท์ ปันยาชุน ที่เสนอต่อที่ประชุมอาเซียน ณ ประเทศสิงคโปร์
โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้การค้าภายในอาเซียนเป็นไปโดยเร็ว อัตรภาษีต่ำที่สุด และเพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติสู่ภูมิภาคอาเซียน ตลอดจนเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์การค้าโลกที่เป็นระบบเสรียิ่งขึ้น ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อเศษฐกิจของไทยอย่างจริงจัง ระบบการค้าเสรี เป็นลักษณะทวิภาคี ระหว่างประเทศไทยกับประเทศในเอเชียใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์เป็นต้น
4.ความร่วมมือทางเศษฐกิจเอเชียแปซิฟิก หรือเอเปก(Asia-pacific economic cooperation:APEC)
ก่อตั้งใน พ.ศ. 2532 ตามข้อเสนอของนายบ็อบฮอร์ก อดีตนายกรัฐมนตรีประเทศออสเตรเลีย โดยกลุ่มเอเปกเป็นกลุ่มเศษฐกิจที่มีประชากรรวมกันมากที่สุดกว่า 2,000 ล้านคน ครอลคลุม สามทวีป คือ เอเชีย อเมริกา และออสเตรเลีย มีสำนักงานตั้งอยู่ที่ประเทศ
สิงคโปร มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศษฐกิจของภูมิภาคเอเชียและของโลก โดยต้องการพัฒนาส่งเสริมระบบการค้าพหุภาคีที่อยู่บนรากฐานของการเปิดการค้าเสรี การลงทุน และหาทางลดอุปสรรคทางการค้า โดยยึดหลักผลประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งไทยเคยเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมในปี พ.ศ. 2546
ความขัดแย้งระหว่างประเทศครั้งสำคัญในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 เรื่องสงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเย็น 48-สงครามโลกครั้งที่ 2 49-สงครามเย็น( Cold War ) สัปดาห์ที่ 15
แผนที่สงครามโลกครั้งที่ 2ในยุโรป
สงครามโลกครั้งที่ 2
สงครามโลกครั้งที่สองเป็นความขัดแย้งระหว่างคู่สงคราม คือ ฝ่ายอักษะ ประกอบด้วย เยอรมนี อิตาลีและญี่ปุ่น อีกฝ่ายหนึ่งได้แก่ อังกฤษ ฝรั่งเศส และรัสเซีย ต่อมาจึงมีประเทศอื่นๆ เข้าร่วม สงคราม ทำให้สงครามขยายไปทั่วโลก
สาเหตุเริ่มต้นของสงคราม
สาเหตุเริ่มต้นของสงคราม
สนธิสัญญาสันติภาพที่ไม่เป็นธรรม
ระบุให้ประเทศที่แพ้สงครามโลกครั้งที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหาย ค่าปฏิกรรมสงครามและเสียดินแดน เช่นสนธิสัญญาแวร์ซายส์ เยอรมนี ต้องเสียอาณานิคม ต้องคืนแค้วนอัลซาล – ลอเรนแก่ฝรั่งเศส โปเซนและปรัสเซียตะวันตกให้โปแลนด์ มอรสเนท ยูเพนและมัลเมดีให้เบลเยี่ยม ชเลสวิคและโฮลสไตน์ให้เดนมาร์ก แคว้นซูเดเตนให้เชคโกสโลวาเกีย และ เมเมลให้ลิทัวเนีย จ่ายค่าปฏิกรรมสงคราม ปีละ 5 พันล้านดอลลาร์ ถูกจำกัดกำลังทหารมีทหารได้ไม่เกิน 100,000 คน ห้ามเกณฑ์ทหารเป็นต้น จากเหตุการณ์ดังกล่าวเป็นการกระตุ้นให้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขี้น ฮิตเลอร์และพรรคนาซีได้ปลุกระดมต่อต้านการเสียค่าปฏิกรรมสงคราม และนำความอดยาก ยากจนมาให้ประชาชนอย่างต่อเนื่อง
ความอ่อนแอของ
องค์การสันนิบาตชาติ ที่ไม่สามารถบังคับประเทศที่เป็นสมาชิกและไม่ปฏิบัติตามสัตยาบันได้
ความแตกต่างทางด้านการปกครอง
ความแตกต่างทางด้านการปกครอง
กลุ่มประเทศฟาสซิสต์มีความเข้มแข็งมากขึ้น ได้รวมกันเป็น มหาอำนาจอักษะ (Berlin-Rome-Tokyo Axis ) จุดประสงค์แรก คือเพื่อต่อต้านรัสเซีย ซึ่งเป็นคอมมิวนิสต์ ต่อมาได้ขยายไปสู่การต่อต้านชนชาติยิวและนำไปสู่ความขัดแย้งกับประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร
บทบาทของสหรัฐอเมริกา
บทบาทของสหรัฐอเมริกา
สหรัฐปิดประเทศโดดเดี่ยว สมัยประธานาธิบดีมอนโร ตามแนวคิดในวาทะมอนโร สหรัฐจะไม่แทรกแซงกิจการประเทศอื่นและไม่ยอมให้ประเทศอื่นมาแทรกแซงกิจการของตนเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 และรัฐบาลไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ประชาชนจึงเลือกพรรคเดโมแครตเข้ามาเป็นรัฐบาลปกครองประเทศโดยประธานาธิบดี แฟรงคลิน ดี รุสเวลท์ ได้รับเลือกต่อกันถึงสี่สมัย ( ค.ศ.1933 – 1945 )
ชนวนที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 ฉนวนโปแลนด์(Polish Corridor) มีชาวเยอรมนีอาศัยอยู่มาก เยอรมนีเสียดินแดนส่วนนี้ให้แก่โปแลนด์ตามสนธิสัญญาแวร์ซาย์ และฉนวนโปแลนด์ยังแบ่งแยกดินแดนเยอรมนีเป็นสองส่วน คือส่วนปรัสเซียตะวันตกและปรัสเซียตะวันออก ฮิตเลอร์ ขอสร้างถนนผ่านฉนวนโปแลนด์ไปปรัสเซียตะวันออก อังกฤษและฝรั่งเศสคัดค้าน ฮิตเลอร์จึงยกเลิกสัญญาที่เยอรมนีจะไม่รุกรานโปแลนด์ และทำสัญญาไม่รุกรานกับสหภาพโซเวียต เยอรมนีเริ่มสงครามด้วยการบุกโปแลนด์ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 แบบสายฟ้าแลบ (Blitzkrieg)
ชนวนที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 ฉนวนโปแลนด์(Polish Corridor) มีชาวเยอรมนีอาศัยอยู่มาก เยอรมนีเสียดินแดนส่วนนี้ให้แก่โปแลนด์ตามสนธิสัญญาแวร์ซาย์ และฉนวนโปแลนด์ยังแบ่งแยกดินแดนเยอรมนีเป็นสองส่วน คือส่วนปรัสเซียตะวันตกและปรัสเซียตะวันออก ฮิตเลอร์ ขอสร้างถนนผ่านฉนวนโปแลนด์ไปปรัสเซียตะวันออก อังกฤษและฝรั่งเศสคัดค้าน ฮิตเลอร์จึงยกเลิกสัญญาที่เยอรมนีจะไม่รุกรานโปแลนด์ และทำสัญญาไม่รุกรานกับสหภาพโซเวียต เยอรมนีเริ่มสงครามด้วยการบุกโปแลนด์ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 แบบสายฟ้าแลบ (Blitzkrieg)
ฉนวนโปแลนด์
อังกฤษและฝรั่งเศสประกาศเข้าร่วมสงคราม ด้านมหาสมุทรแปซิฟิก ญี่ปุ่นบุกแมนจูเรียในปี ค.ศ.1931 และเสนอแผนการที่จะสถาปนา “วงไพบูลย์แห่งมหาเอเชียบูรพา” เพื่อผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจและด้านอื่นๆ ญี่ปุ่นโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่ อ่าวเพิร์ล ฮาร์เบอร์ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 สหรัฐจึงเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สอง โดยประกาศสงครามเข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตร ขณะเดียวกันญี่ปุ่นเปิดสงครามในตะวันออกเฉียงใต้หรือเรียกว่า “สงครามมหาเอเชียบูรพา”
สงครามโลกในยุโรปสิ้นสุดลงเมื่อกองทัพสัมพันธมิตรบุกเข้าเบอร์ลินในเดือนมิถุนายน ค.ศ.1944 และเมื่อสหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมาและเมืองนางาซากิ ในวันที่ 6 และ 9 สิงหาคม ค.ศ.1945 สงครามโลกจึงสิ้นสุดลง
สงครามโลกในยุโรปสิ้นสุดลงเมื่อกองทัพสัมพันธมิตรบุกเข้าเบอร์ลินในเดือนมิถุนายน ค.ศ.1944 และเมื่อสหรัฐอเมริกาทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิมาและเมืองนางาซากิ ในวันที่ 6 และ 9 สิงหาคม ค.ศ.1945 สงครามโลกจึงสิ้นสุดลง
สัมพันธมิตรยกพลขึ้นบกที่ ชายฝั่งแคว้นนอร์มังดี วัน V-E DAY
ผลของสงครามโลกครั้งที่สอง
เกิดองค์การสหประชาชาติเพื่อดำเนินงานแทนองค์การสันนิบาตชาติ ด้วยวัตถุประสงค์เพื่อรักษาสันติภาพของโลกและให้กลุ่มสมาชิกร่วมมือช่วยเหลือกัน นับว่ามีความเข้มแข็งกว่าเดิม เพราะสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งและมีกองทหารของสหประชาชาติ
ทำให้เกิดสงครามเย็นตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้น ประเทศสหภาพโซเวียต ปกครองโดยสมัยสตาร์ลินมีนโยบายขยายลัทธิคอมมิวนิสต์ไปสู่ ยุโรปตะวันออก และเยอรมนีตะวันออก ซึ่งมีทหารรัสเซียเข้าปลดปล่อยดินแดนเหล่านี้จากอำนาจฮิตเลอร์ในสงครามโลกครั้งที่สอง ขณะที่สหรัฐต้องการสกัดกั้นการขยายตัวดังกล่าว และเผยแผ่การปกครองแบบเสรีประชาธิปไตยในประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะดินแดนอาณานิคมที่ประกาศเอกราช เป็นประเทศใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง จนเกิดสภาวการณ์ที่เรียกว่า สงครามเย็น( Cold War )
ทำให้เกิดสงครามเย็นตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้น ประเทศสหภาพโซเวียต ปกครองโดยสมัยสตาร์ลินมีนโยบายขยายลัทธิคอมมิวนิสต์ไปสู่ ยุโรปตะวันออก และเยอรมนีตะวันออก ซึ่งมีทหารรัสเซียเข้าปลดปล่อยดินแดนเหล่านี้จากอำนาจฮิตเลอร์ในสงครามโลกครั้งที่สอง ขณะที่สหรัฐต้องการสกัดกั้นการขยายตัวดังกล่าว และเผยแผ่การปกครองแบบเสรีประชาธิปไตยในประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะดินแดนอาณานิคมที่ประกาศเอกราช เป็นประเทศใหม่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง จนเกิดสภาวการณ์ที่เรียกว่า สงครามเย็น( Cold War )
สงครามเย็น( Cold War )
สงครามเย็นหมายถึง การประจันหน้าด้านอุดมการณ์ทางการเมืองระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกา ผู้นำลัทธิเสรีประชาธิปไตยกับสหภาพโซเวียตประเทศ ผู้นำลัทธิคอมมิวนิสต์ เป็นการปะทะกันทุก ๆ วิถีทาง ยกเว้นด้านการทหาร การขยายอำนาจในสงครามเย็นจึงเป็นลักษณะการแสวงหาพรรคพวกร่วมอุดมการณ์และแข่งขันกันเป็นมหาอำนาจทางการเมือง การทหาร และเศรษฐกิจ โดยไม่ทำสงครามกันอย่างเปิดเผย แต่เป็นการสนับสนุนให้ประเทศที่เป็นพวกของแต่ละฝ่ายทำสงครามตัวแทน
สาเหตุของสงครามเย็น
สาเหตุของสงครามเย็น
สหรัฐอเมริกาได้ประกาศวาทะทรูแมน (Trueman Doctrine)ในค.ศ 1947 มีสาระสำคัญว่า ...สหรัฐอเมริกาจะโต้ตอบการคุกคามของประเทศคอมมิวนิสต์ทุกรูปแบบและทุกสถานที่ แล้วแต่สหรัฐจะเห็นสมควร โดยไม่จำกัด ขนาด เวลา และสถานที่ ....จะให้ความช่วยเหลือประเทศต่าง ๆ ให้พ้นจากการคุกคามของลัทธิคอมมิวนิสต์ พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือแก่กรีซและตุรกีเป็นตัวอย่าง สืบเนื่องมาจากสหภาพโซเวียตเผยแพร่ลัทธิคอมมิวนิสต์ และแทรกแซงให้ความช่วยเหลือกบฎในตุรกีและกรีกเพื่อจัดตั้งรัฐบาลคอมมิวนิสต์ การประกาศวาทะทรูแมนจึงเป็นจุดเริ่มต้นสงครามเย็นที่แท้จริง ต่อมาสหรัฐได้ประกาศแผนการมาร์แชล(Marshall Plan) เพื่อให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจกับยุโรปตะวันตก
ขณะเดียวกันสหภาพโซเวียตได้ตอบโต้ด้วยการจัดตั้ง องค์การโคมินฟอร์ม ( Cominform ) ใน ค.ศ. 1947 เพื่อขยายลัทธิคอมมิวนิสต์สู่ประเทศต่าง ๆ และสัญญาว่าจะให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจแก่ประเทศที่เป็นคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะในยุโรปตะวันออก ต่อมาได้ซึ่งพัฒนามาเป็นองค์การ โคมินเทอร์น (Comintern)
การเผชิญหน้าทางทหาร ใน ค.ศ. 1949 สหรัฐอเมริกาได้จัดตั้งองค์การสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization ) ประกอบด้วยภาคี 12 ประเทศ คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ ลักซัมเบอร์ก สหรัฐอเมริกา แคนาดา เดนมาร์ค ไอซ์แลนด์ อิตาลี นอร์เวย์และเปอร์ตุเกส ต่อมาตุรกีและกรีซ ได้เข้าเป็นสมาชิก และในค.ศ. 1955 เยอรมนีตะวันตกได้เข้าเป็นสมาชิกด้วย
ในค.ศ.1955 สหภาพโซเวียตได้ชักชวนให้ประเทศในยุโรปตะวันออกลงนามในสนธิสัญญาวอร์ซอร์ ( Warsaw Pact)ซึ่งเป็นสนธิสัญญาว่าด้วยความร่วมมือทางทหาร ประเทศภาคี คือ สหภาพโซเวียต เยอรมนีตะวันออก โปแลนด์ ฮังการี รูมาเนีย บัลกาเรียและเชคโกสโลวาเกีย
ขณะเดียวกันสหภาพโซเวียตได้ตอบโต้ด้วยการจัดตั้ง องค์การโคมินฟอร์ม ( Cominform ) ใน ค.ศ. 1947 เพื่อขยายลัทธิคอมมิวนิสต์สู่ประเทศต่าง ๆ และสัญญาว่าจะให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจแก่ประเทศที่เป็นคอมมิวนิสต์ โดยเฉพาะในยุโรปตะวันออก ต่อมาได้ซึ่งพัฒนามาเป็นองค์การ โคมินเทอร์น (Comintern)
การเผชิญหน้าทางทหาร ใน ค.ศ. 1949 สหรัฐอเมริกาได้จัดตั้งองค์การสนธิสัญญาป้องกันร่วมกันแห่งแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization ) ประกอบด้วยภาคี 12 ประเทศ คือ อังกฤษ ฝรั่งเศส เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ ลักซัมเบอร์ก สหรัฐอเมริกา แคนาดา เดนมาร์ค ไอซ์แลนด์ อิตาลี นอร์เวย์และเปอร์ตุเกส ต่อมาตุรกีและกรีซ ได้เข้าเป็นสมาชิก และในค.ศ. 1955 เยอรมนีตะวันตกได้เข้าเป็นสมาชิกด้วย
ในค.ศ.1955 สหภาพโซเวียตได้ชักชวนให้ประเทศในยุโรปตะวันออกลงนามในสนธิสัญญาวอร์ซอร์ ( Warsaw Pact)ซึ่งเป็นสนธิสัญญาว่าด้วยความร่วมมือทางทหาร ประเทศภาคี คือ สหภาพโซเวียต เยอรมนีตะวันออก โปแลนด์ ฮังการี รูมาเนีย บัลกาเรียและเชคโกสโลวาเกีย
วิกฤตการณ์เบอร์ลิน(The Berlin Blockade) ค.ศ.1948
เบอร์ลินถูกแบ่งเป็น 4 ส่วนแบ่งเขตยึดครองคือ ฝรั่งเศส อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ได้ส่วนยึดครองทางเบอร์ลินตะวันตกและเยอรมนีตะวันตก สหภาพโซเวียตได้เบอร์ลินส่วนตะวันตกและเยอรมนีตะวันตก เมื่อสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองสหภาพโซเวียตได้ประกาศปิดล้อมเบอร์ลินไม่ให้สัมพันธมิตรเข้าออกเบอร์ลินในวันที่ 19 มิถุนายน 1948 ถึง พฤษภาคม 1949 มิให้มีการติดต่อกับภายนอก เพื่อบังคับให้มหาอำนาจตะวันตกละทิ้งเบอร์ลิน โดยปิดเส้นทางคมนาคมทางบก ทางน้ำ ตัดกระแสไฟฟ้าประเทศสัมพันธมิตรและคณะมนตรีความมั่นคงแก้ปัญหาโดยการใช้เครื่องบินบรรทุกเครื่องอุปโภคบริโภคไปโปรยให้ชาวเบอร์ลินตะวันตกเป็นเวลากว่า 1 ปี เหตุการณ์ดังกล่าวนำไปสู่การแบ่งแยก เยอรมันนีเป็น 2 ประเทศและแบ่งเบอร์ลินเป็น 2 ส่วนอย่างถาวร
การแบ่งเขตยึดครองเบอร์ลินของของมหาอำนาจ 4 ประเทศ สร้างกำแพงยาวกว่า 27 ไมล์
กั้นระหว่างเบอร์ลินในค.ศ.1961 เรียกกำแพงเบอร์ลิน
ในค.ศ.1949 เยอรมนีตะวันตกได้ตั้งเป็นประเทศ ชื่อว่า สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันและสหภาพโซเวียตได้ตั้งเขตปกครองของตนในเยอรมนีตะวันออกเป็น สาธารณรัฐประชาธิปไตยเยอรมัน เมื่อแบ่งประเทศแล้ว ชาวเยอรมนีตะวันออกได้อพยพมาอยู่ในเขตตะวันตกมากขึ้นตลอดเวลา ทำให้รัสเซียต้อง สร้างกำแพงยาวกว่า 27 ไมล์ กั้นระหว่างเบอร์ลินใน ค.ศ.1961 เรียก กำแพงเบอร์ลิน
เครื่องบินสัมพันธมิตรขนส่งอาหารให้กับประชาชนในเบอร์ลินตะวันตก
กำแพงเบอร์ลิน
กำแพงเบอร์ลินสร้างในปี ค.ศ. 1961 แบ่งเบอร์ลินตะวันตกและตะวันออก ออกจากกัน เป็นสัญลักษณ์สำคัญหนึ่งของสงครามเย็น และถูกทำลายไปเมื่อ ค.ศ. 1989 ในเดือนมกราคม ค.ศ. 1990 โดยมิคาอิล กอบาชอฟ ยินยอมให้เยอรมันทั้งสองตัดสินใจอนาคตตนเอง โดยสหภาพโซเวียตจะไม่เข้าแทรกแซงจึงมีการรวมเยอรมันเป็นประเทศเดียวกันอย่างเป็นทางการ เรียกว่า สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)